top of page

อดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ กล่าวถึง เอ็มฟันด์


อดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงาน เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ คนทำงานภาคประชาสังคมในประเด็นแรงงานข้ามชาติมานานหลายปี ได้กล่าวถึงโครงการกองทุนสุขภาพเอ็มฟันด์ ไว้ดังนี้


“เอ็มฟันด์ เป็นกองทุนหรือระบบที่ทำให้คนที่ยังเข้าไม่ถึงประกันสุขภาพมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น เอ็มฟันด์สามารถทำให้คนสามารถที่จะซื้อประกันสุขภาพในราคาที่พอใจได้และสามารถทยอยจ่ายได้ ซึ่งระบบในลักษณะแบบนี้ของรัฐไม่มี ประกันสุขภาพของรัฐที่มีคือต้องจ่ายทีเดียวรวมยอดพันกว่าบาท บางคนอาจจะไม่มีความสามารถจะจ่ายทีเดียวแบบนั้นได้ 


อีกประการหนึ่ง เอ็มฟันด์ เหมือนเป็นระบบการดูแลกันเองของชุมชน เพราะมันต้องใช้ความไว้วางใจกันต้องมีคนรับรอง หรือจะสมัครต้องชักชวนคนอื่นมาสมัครด้วย และสิ่งนี้ผมคิดว่ามันทำให้แรงงานข้ามชาติเริ่มตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพตัวเองเพิ่มมากขึ้นที่


สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เอ็มฟันด์ สามารถเชื่อมโยงระบบการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล คลีนิค หรือ รพสต. เชื่อมกับตัวชุมชนแรงงานข้ามชาติ นี่เป็นปัจจัยสำคัญที่ เอ็มฟันด์ ได้สร้างขึ้นมาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และทำให้โครงการสัมฤทธิผล”


ในขณะเดียวความท้าทายในการทำงานของเอ็มฟันด์ อดิศร เกิดมงคล ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า


“เอ็มฟันด์ทำงานกับชุมชน ซึ่งชุมชนมีความหลากหลาย แต่ละชุมชน แต่ละพื้นที่มันจะไม่เหมือนกัน เช่น ชายแดนไทย-พม่า ก็ย่อมแตกต่างกับชุมชนชายแดนฝั่ง ไทย-ลาว ไทย-กัมพูชา ดังนั้นการปรับรูปแบบหรือวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับชุมชนต่าง ๆ ก็จะมีความจำเป็น


ประการที่สองเป็นข้อเสนอแนะละกัน ผมคิดว่า เอ็มฟันด์ มีศักยภาพทำได้ คืออาจจะต้องไปเพิ่มในเรื่องการพัฒนาอาสาสมัคร หรือกลุ่ม หรือชมรมสุขภาพในชุมชนขึ้นช่วยดูแลโครงการ รวมถึงเรื่องการตระหนักรู้ในข้อมูลเรื่องสุขภาพ อันนี้น่าสนใจเพราะโดยทั่วไปแรงงานข้ามชาติเข้าไม่ถึงอยู่แล้ว อาจจะเป็นเอกสารข้อมูล สื่อที่เข้าถึงได้ง่าย ที่แนะนำเรื่องสุขภาพให้ชุมชนแรงงานข้ามชาติ จะช่วยได้มากเลยทีเดียว”

ดู 32 ครั้ง0 ความคิดเห็น

コメント


bottom of page